1-22 December 2021
Asia/Bangkok timezone

Instructions in Thai

คำแนะนำการส่งข้อเสนอขอใช้งานเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ

       ประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย สำหรับขอใช้เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ (Thai Robotic Telescopes หรือ TRTs) สำหรับรอบสังเกตการณ์ที่ 9B ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2022 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2022 

กำหนดส่ง 20 ธันวาคม 2021 เวลา 11:59 น. (เช้า)

 

หมายเหตุ

- กล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ ณ หอดูดาวเซียร่ารีโมท (SRO) สามารถใช้งานได้ปกติ โดยมีฟิลเตอร์มาตรฐาน UBVRI 
- สำหรับวัตถุที่ไม่สามารถคาดการณ์เวลาสังเกตการณ์ได้ (Target of Opportunity: ToO) ผู้เสนอโครงการสามารถส่งข้อเสนอขอใช้งานกล้องนอกกำหนดส่งปกติได้ โดยสามารถส่งข้อเสนอได้ทุกเวลา แต่วัตถุทั่วไปจะต้องส่งข้อเสนอขอใช้งานกล้องตามกำหนดส่งที่ระบุไว้เท่านั้น
- ครูและนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาสามารถส่งข้อเสนอขอใช้งานกล้องนอกกำหนดส่งที่ระบุไว้ได้ หากมีความจำเป็น แต่ทั้งนี้ หากเป็นไปได้ควรส่งข้อเสนอตามกำหนดส่งที่ระบุ และควรติดต่อที่ปรึกษาโครงการวิจัยจาก สดร. ก่อนส่งข้อเสนอขอใช้งานกล้อง
- ในการพิจารณาอนุมัติข้อเสนอขอใช้งานกล้อง คณะกรรมการพิจารณาเวลาใช้งานกล้องโทรทรรศน์ (TAC) จะนำประวัติผลงานวิจัย และผลการใช้งานกล้องโทรทรรศน์ TRTs ของ สดร. ของผู้ส่งข้อเสนอมาพิจารณาด้วย ผู้ส่งข้อเสนอที่เคยใช้งานกล้อง TRTs ของ สดร. โปรดกรอกรายละเอียดดังกล่าวลงในหัวข้อ C) และ G) ในส่วน “Description of the proposed project” ของแบบฟอร์มข้อเสนอออนไลน์ด้วย
- ผู้ส่งข้อเสนอต้องศึกษาคู่มือการขอใช้งานกล้องอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนส่งข้อเสนอโครงการ และต้องกรอกข้อมูลอย่างความละเอียดและครบถ้วน ทั้งนี้ ผู้ส่งข้อเสนอหรือหัวหน้าโครงการวิจัยจะต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาในข้อเสนอโครงการ หากมีการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือมีการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือของ สดร. ในทางที่ผิด คณะกรรมการพิจารณาเวลาใช้งานกล้องโทรทรรศน์ (TAC) จะตัดสิทธิ์การใช้งานกล้องของท่านและข้อเสนอการขอใช้งานกล้องทันที
- ข้อมูลจากการสังเกตการณ์ จะถือเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้สังเกตการณ์หรือผู้ร่วมวิจัยเป็นเวลา 1 ปีหลังจบรอบสังเกตการณ์ จากนั้นข้อมูลจะถูกเผยแพร่ผ่านฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ของ สดร. หากผู้วิจัยต้องการขยายเวลาครอบครองกรรมสิทธ์ของข้อมูลมากกว่า 1 ปี สามารถติดต่อคณะกรรมการพิจารณาเวลาใช้งานกล้อง (TAC) ได้

       ทั้งนี้ ผลการพิจารณาการขอใช้งานกล้องของคณะกรรมถือเป็นที่สิ้นสุด

 

ผู้ที่สามารถส่งข้อเสนอโครงการได้

       ผู้ที่สามารถส่งข้อเสนอโครงการขอใช้งานกล้องโทรทรรศน์ เป็นได้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ แต่ควรมีผู้ร่วมวิจัยอย่างน้อยหนึ่งคนจากสถาบันสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เนื่องจากในการพิจารณาอนุมัติเวลาใช้งานกล้องโทรทรรศน์นั้น หากมีการจัดอันดับที่เท่ากันระหว่างสองโครงการขึ้นไป โครงการที่มีผู้วิจัยหรือผู้ร่วมวิจัยจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย จะถูกพิจารณาให้มีอันดับที่สูงกว่า

       นอกจากนี้ คณะกรรมการพิจารณาเวลาใช้งานกล้องโทรทรรศน์ จะพิจารณาประวัติการใช้งานหรือประวัติการตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่ใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ของสดร. ในการพิจารณาด้วย

 

การส่งข้อเสนอการขอใช้งานกล้องแบบออนไลน์

ผู้ส่งข้อเสนอจะต้องกรอกใบสมัคร และส่งใบสมัครผ่านระบบออนไลน์ก่อนหมดเขตรับสมัคร

       โดยก่อนที่จะสร้างข้อเสนอขอใช้งานกล้อง ผู้ส่งข้อเสนอจะต้องสมัครบัญชีการใช้งานและบัญชีต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ดูแลระบบก่อน ผู้ส่งข้อเสนอถึงจะสามารถเข้าใช้งานและเตรียมข้อเสนอโครงการได้ โดยบัญชีการใช้งานจะได้รับการอนุมัติภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังการสมัคร และผู้สมัครบัญชีจะได้รับอีเมลล์แจ้งเตือนเมื่อบัญชีการใช้งานได้รับการอนุมัติ ผู้ส่งข้อเสนอต้องส่งข้อเสนอโครงการ โดยการกดปุ่ม submit และหลังจากส่งข้อเสนอแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขรายละเอียดโครงการได้อีก และสำหรับผู้ที่เคยส่งข้อเสนอโครงการแล้ว หรือเคยเปิดบัญชีการใช้งานแล้ว ไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีการใช้งานใหม่

 

การเขียนกิตติกรรมประกาศ

       การตีพิมพ์ผลงานวิจัยทุกฉบับที่ใช้ข้อมูลจากเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ (TRTs) ต้องระบุในกิตติกรรมประกาศดังนี้

“Based on observations made with the Thai Robotic Telescopes under program ID [ID], which is operated by the National Astronomical Research Institute of Thailand (Public Organization).”

หากมีปัญหาหรือข้อสงสัย กรุณาติดต่อ proposal@narit.or.th